แนะนำสำนักวิชา
ทำความรู้จักกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทำความรู้จักกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
ครั้งสมัยก่อนกำเนิดสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชปรารภอยู่เนืองๆและมีพระราชดำรัสกับศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่บ่อยครั้งเมื่อมีพระราชกรณียกิจเสด็จพระราชดำเนินมายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงมีพระราชปรารภว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังขาดการจัดการเรียนการสอนด้านการเกษตร ทั้งๆที่การเกษตรอยู่ในพระราชรำดิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งสมัยทรงสภาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงยกตัวอย่างถึง University of London ที่มีสวนพฤกษศาสตร์ไว้ให้เรียนการเกษตร
https://www.youtube.com/watch?v=Iy4_gU7xIX4
“Power and prosperity rest with a nation that is efficient in agriculture and commerce”
“ อำนาจแลสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ประเทศ ที่เจริญด้วยกสิกรรมและพาณิชการ”
อันแสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อแนวคิดที่ว่า ความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยคุณภาพและประสิทธิภาพของเกษตรกรรมและค้าขายที่ควบคู่กัน หากผลจากการแยกเกษตรศาสตร์และพาณิชยศาสตร์ออกจากกัน เกษตรจะกลายเป็นเพียงผู้ผลิตที่เป็นเพียงแรงงานที่ไม่รู้จักการขาย ส่วนพ่อค้าก็จะค้าขายโดยที่ไม่รู้ที่มาพื้นฐานของการผลิตสินค้าเกษตร ขาดความเข้าใจในกระบวนการหรือวงจรการผลิต การแปรรูป การขนส่ง การจัดซื้อ การตลาดและความปลอดภัย กลายเป็นพ่อค้าที่ขาดความรับผิดชอบแก่สังคม เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ดังนั้นจึงเป็นจำเป็นอย่างมาในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น “ผู้ประกอบการ” ด้านสินค้าเกษตรที่ต้องรู้และบูรณาการศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันดังที่เจ้าของกิจการและธุรกิจอื่นๆพึงมี
พ.ศ. 2551จุดเริ่มต้นของสำนักฯจุดเริ่มต้นของสำนักฯ
เม.ย.-ส.ค. พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชณปารภกับ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ถึงพระราชปณิธานของ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ให้มีการเรียนการสอนในสาขาเกษตรเมื่อครั้งแรกตั้งจุฬาฯ
พ.ศ. 2551โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตรโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 703 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ได้มีมติอนุมัติในหลักการของโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตร
พ.ศ. 2552กำเนิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรกำเนิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
ศาสตราจารย์กิตติคุณ น.สพ.ดร. อรรณพ คุณาวงษ์กฤษ ทูลเกล้าฯ ถวายโครงการจัดตั้งส่วนงานการเรียนการสอนและหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรเพื่อให้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ขณะเสด็จพระราชดำเนินมาตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาพื้นที่จุฬา-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
พ.ศ. 2552จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัยจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัย
สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นชอบในการจัดตั้ง “ คณะกรรมการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร” และให้มี “ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร “ ขึ้นรวมทั้งเห็นชอบ” หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร “ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 715 วันที่ 27 สิงหาคมพุทธศักราช 2552
พ.ศ. 2553การรับนิสิตรุ่นแรกการรับนิสิตรุ่นแรก
รับนิสิตรุ่นแรกเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ปีการศึกษา 2553 ในเดือนมิถุนา พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2557สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตรสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
27 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2557 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีมติให้เปลี่ยนสภาพเป็น “สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร” เป็นส่วนงาน ที่มีภาระกิจกิจการเรียนการสอนเทียบเท่าคณะเป็นลำดับที่ 20 ประกาศในราชกิจจ์จานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคมพุทธศักราช 2557
พ.ศ. 2557บัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษาบัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษาและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำความปรารภดังกล่าว เข้าระดมความคิดเห็นร่วมกับคณะผู้บริหาร และเมื่อผนวกกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขณะนั้นที่มุ่งหมายให้จุฬาฯเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ภายใต้ประสงค์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีขีดความสามารถในการเข้าถึงชุมชน เสริมพลัง และสนับสนุนชุมชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านอาหารของโลกและความอ่อนแอของเกษตรกรไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารของครัวโลก และเป็นกลไกสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตอาหาร แต่ต้องกลายเป็นเพียงแรงงานการเกษตรของผู้ลงทุน และท้ายที่สุดเกษตรกรต้องประสบปัญหาหนี้สิ้น มีรายได้ที่ไม่เพียงพอ สูญเสียหรือขาดแคลนที่ดิน และเกิดการเกษตรที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมุ่งหวังผลผลิตที่สูง ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ปัญหาที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหานี้ และได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.อรรถนพ คุณาวงษ์กฤต และคณะกรรมการชุดหนึ่งเป็นผู้รวบรวมแนวคิดเสนอเป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตร โดยมีแนวคิดและการจัดการเรียนการสอน ที่มีความพยายามที่จะบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ดังนี้
- กลุ่ม Food Science and Technology ได้แก่คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันทรัพยากรน้ำ
- กลุ่ม Food and Health ได้แก่ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
- กลุ่ม Food Commercial and Trade ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์
- กลุ่ม Food System, Structure and Performance ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันการขนส่ง
สภามหาวิทยาลัยได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแผนดังกล่าวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และได้ขอให้ฝ่ายบริหารไปดำเนินการจัดทำแผนดำเนินการในรายละเอียด และในภายหลัง เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ. ศ. 2552 จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ทั้งในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อตกผลึกความคิดก่อนเป็นที่มาของการอนุมัติให้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (Office of the Commission on Agricultural Resource Education หรือชื่อย่อ OCARE) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ที่มีพันธกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิตเกษตรรุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ ด้านการจัดการการผลิต การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การตลาดและการค้า โดยมุ่งหวังจะให้นิสิตได้กลายเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง บัณฑิตจากหลักสูตรนี้จะเป็นของขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะให้กับแผ่นดินในโอกาสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีอายุครบ 100 ปี จนกระทั่งปลายปีการศึกษา 2556 ที่นิสิตรุ่นแรกใกล้จะจบการศึกษาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีมติให้เปลี่ยนสถานภาพสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร เป็น “สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร” เป็นส่วนหนึ่งที่มีภารกิจการเรียนการสอนเทียบเท่าคณะเป็นลำดับที่ 20 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2557 และภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น School of Agriculture Resources หรือ SAR
ภายหลังในปีการศึกษา 2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) โดยเพิ่มรายวิชาที่สอดคล้องกับเกษตรสมัยใหม่ เพื่อปรับเนื้อหาการเรียนรู้ให้เข้ากับโลกและสถานการณ์ในยุคปัจจุบันสืบไป