แนะนำสำนักวิชา

ทำความรู้จักกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทำความรู้จักกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

      ครั้งสมัยก่อนกำเนิดสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชปรารภอยู่เนืองๆและมีพระราชดำรัสกับศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่บ่อยครั้งเมื่อมีพระราชกรณียกิจเสด็จพระราชดำเนินมายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงมีพระราชปรารภว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังขาดการจัดการเรียนการสอนด้านการเกษตร ทั้งๆที่การเกษตรอยู่ในพระราชรำดิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งสมัยทรงสภาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงยกตัวอย่างถึง University of London ที่มีสวนพฤกษศาสตร์ไว้ให้เรียนการเกษตร

https://www.youtube.com/watch?v=Iy4_gU7xIX4

“Power and prosperity rest with a nation that is efficient in agriculture and commerce”
“ อำนาจแลสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ประเทศ ที่เจริญด้วยกสิกรรมและพาณิชการ”

          อันแสดงถึงพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อแนวคิดที่ว่า ความมั่นคงและความมั่งคั่งของประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยคุณภาพและประสิทธิภาพของเกษตรกรรมและค้าขายที่ควบคู่กัน หากผลจากการแยกเกษตรศาสตร์และพาณิชยศาสตร์ออกจากกัน เกษตรจะกลายเป็นเพียงผู้ผลิตที่เป็นเพียงแรงงานที่ไม่รู้จักการขาย ส่วนพ่อค้าก็จะค้าขายโดยที่ไม่รู้ที่มาพื้นฐานของการผลิตสินค้าเกษตร ขาดความเข้าใจในกระบวนการหรือวงจรการผลิต การแปรรูป การขนส่ง การจัดซื้อ การตลาดและความปลอดภัย กลายเป็นพ่อค้าที่ขาดความรับผิดชอบแก่สังคม เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ดังนั้นจึงเป็นจำเป็นอย่างมาในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น “ผู้ประกอบการ” ด้านสินค้าเกษตรที่ต้องรู้และบูรณาการศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันดังที่เจ้าของกิจการและธุรกิจอื่นๆพึงมี


พ.ศ. 2551จุดเริ่มต้นของสำนักฯจุดเริ่มต้นของสำนักฯ

เม.ย.-ส.ค. พ.ศ. 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชณปารภกับ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ถึงพระราชปณิธานของ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ให้มีการเรียนการสอนในสาขาเกษตรเมื่อครั้งแรกตั้งจุฬาฯ

พ.ศ. 2551โครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตรโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 703 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ได้มีมติอนุมัติในหลักการของโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตร

พ.ศ. 2552กำเนิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรกำเนิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร

ศาสตราจารย์กิตติคุณ น.สพ.ดร. อรรณพ คุณาวงษ์กฤษ ทูลเกล้าฯ ถวายโครงการจัดตั้งส่วนงานการเรียนการสอนและหลักสูตรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรเพื่อให้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ขณะเสด็จพระราชดำเนินมาตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาพื้นที่จุฬา-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

พ.ศ. 2552จัดตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัยจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาวิจัย

สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นชอบในการจัดตั้ง “ คณะกรรมการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร” และให้มี “ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร “ ขึ้นรวมทั้งเห็นชอบ” หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร “ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 715 วันที่ 27 สิงหาคมพุทธศักราช 2552

พ.ศ. 2553การรับนิสิตรุ่นแรกการรับนิสิตรุ่นแรก

รับนิสิตรุ่นแรกเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ปีการศึกษา 2553 ในเดือนมิถุนา พ.ศ. 2553

พ.ศ. 2557สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตรสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

27 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2557 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีมติให้เปลี่ยนสภาพเป็น “สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร” เป็นส่วนงาน ที่มีภาระกิจกิจการเรียนการสอนเทียบเท่าคณะเป็นลำดับที่ 20 ประกาศในราชกิจจ์จานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคมพุทธศักราช 2557

พ.ศ. 2557บัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษาบัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษาและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557

          ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้นำความปรารภดังกล่าว เข้าระดมความคิดเห็นร่วมกับคณะผู้บริหาร และเมื่อผนวกกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขณะนั้นที่มุ่งหมายให้จุฬาฯเป็น “เสาหลักของแผ่นดิน” ภายใต้ประสงค์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีขีดความสามารถในการเข้าถึงชุมชน เสริมพลัง และสนับสนุนชุมชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยปัญหาวิกฤตการณ์ทางด้านอาหารของโลกและความอ่อนแอของเกษตรกรไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารของครัวโลก และเป็นกลไกสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตอาหาร แต่ต้องกลายเป็นเพียงแรงงานการเกษตรของผู้ลงทุน และท้ายที่สุดเกษตรกรต้องประสบปัญหาหนี้สิ้น มีรายได้ที่ไม่เพียงพอ สูญเสียหรือขาดแคลนที่ดิน และเกิดการเกษตรที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมุ่งหวังผลผลิตที่สูง ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ปัญหาที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหานี้ และได้มอบหมายให้ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.อรรถนพ คุณาวงษ์กฤต และคณะกรรมการชุดหนึ่งเป็นผู้รวบรวมแนวคิดเสนอเป็นโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาหารและการเกษตร โดยมีแนวคิดและการจัดการเรียนการสอน ที่มีความพยายามที่จะบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ดังนี้

  1. กลุ่ม Food Science and Technology  ได้แก่คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันทรัพยากรน้ำ
  2. กลุ่ม Food and Health ได้แก่ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
  3. กลุ่ม Food Commercial and Trade ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์
  4. กลุ่ม Food System, Structure and Performance ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันการขนส่ง

          สภามหาวิทยาลัยได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแผนดังกล่าวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และได้ขอให้ฝ่ายบริหารไปดำเนินการจัดทำแผนดำเนินการในรายละเอียด และในภายหลัง เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ. ศ. 2552 จึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ทั้งในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อตกผลึกความคิดก่อนเป็นที่มาของการอนุมัติให้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (Office of the Commission on Agricultural Resource Education หรือชื่อย่อ OCARE) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ที่มีพันธกิจสำคัญในการผลิตบัณฑิตเกษตรรุ่นใหม่ที่มีการพัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ ด้านการจัดการการผลิต การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การตลาดและการค้า โดยมุ่งหวังจะให้นิสิตได้กลายเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง บัณฑิตจากหลักสูตรนี้จะเป็นของขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะให้กับแผ่นดินในโอกาสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีอายุครบ 100 ปี จนกระทั่งปลายปีการศึกษา 2556 ที่นิสิตรุ่นแรกใกล้จะจบการศึกษาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีมติให้เปลี่ยนสถานภาพสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร เป็น “สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร” เป็นส่วนหนึ่งที่มีภารกิจการเรียนการสอนเทียบเท่าคณะเป็นลำดับที่ 20 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2557 และภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น School of Agriculture Resources หรือ SAR 

          ภายหลังในปีการศึกษา 2566 ได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566) โดยเพิ่มรายวิชาที่สอดคล้องกับเกษตรสมัยใหม่ เพื่อปรับเนื้อหาการเรียนรู้ให้เข้ากับโลกและสถานการณ์ในยุคปัจจุบันสืบไป

Scroll to Top
Skip to content